วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประเมินผลงาน100คะแนน

ขอให้เพื่อนๆ ครู ญาติและผู้มีเกียรติทั่งหลายร่วมประเมินผลงาน โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนนขอขอบคุรทุกท่าน

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เอสเทอร์

http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic8/ester.html
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C




ลิพิด

http://www.cmw.ac.th/elibrary/fileselibrary/Science/pansre002/section3_p01.html
http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/biochem_web/Lipid.htm




ฮอร์โมน

http://www.bs.ac.th/lab2000/web_bio/hor.htm

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%99




น้ำมันปาล์ม

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A1



น้ำมันถั่วเหลือง

http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/




น้ำมันมะกอก

http://www.rspg.or.th/experimental_project/olive/olive15.htm




จุดหลอมเหลว
http://th.wikipedia.org/wiki/จุดหลอมเหลว

http://www.promma.ac.th/e-learn/start_melt-boiling1.html



แอลดีไฮด์
http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/84/chemistry/aldeh.html




กรดอะมิโนและพันธะเพปไทด์
http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/48/2/team/page/h6.html

เลซิติน
http://siweb.dss.go.th/dss_doc/fulltext/radio/T74.pdf

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

NEW ข้อสอบๆ




อธิบาย
โปรตีน

เป็นส่วนประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ มีธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก ส่วนธาตุที่ประกอบในปริมาณน้อยได้แก่ กำมะถัน ฟอสฟอรัส เหล็ก โปรตีนจะแตกต่างกันหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกรดอะมิโนซึ่งเป็นส่วนประกอบย่อยของโปรตีน

กรดอะมิโน

กรดอะมิโนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญกับสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ กรดอะมิโนได้มาจากการที่โปรตีนถูกย่อย เพื่อนำไปใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อต่างๆรวมทั้งนำไปเป็นพลังงาน กรดอะมิโนที่สำคัญ ได้แก่ ธรีโอนีน(threonine) วิลเลียม โรส เป็นผู้ค้นพบ เขาพบว่า เมื่อคนกินอาหารที่ขาดอะมิโนชนิดนี้สักระยะหนึ่ง คนเหล่านั้นจะรู้สึกหงุดหงิดเข้ากับคนได้ยาก ไม่มีสมาธิในการทำงาน อาการเช่นนี้จะหมดไปเมื่อเติมกรดอะมิโนชนิดนี้ลงไปในอาหาร จะเห็นได้ว่ากรดอะมิโนมีผลต่อร่างกายและสมอง

โปรตีนที่ได้จากนมเรียกว่า เคซีน เป็นโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายครบถ้วน แต่ผู้ใหญ่ส่วนมากไม่สามารถดื่มนมได้ เพราะการแพ้ที่ต่างๆกัน เช่น ท้องอืด ท้องเดิน อาการเช่นนี้เกิดจากการที่ร่างกายของผู้ใหญ่ส่วนมากขาดเอนไซม์ที่มีชื่อว่าแลกเตสที่ใช้ในการย่อยแลกเตสในน้ำนม

เมื่ออาหารในโปรตีนถูกย่อย จะกลายเป็นกรดอะมิโน กรดอะมิโนแบ่งเป็น 2 พวก ได้แก่

กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้ จำเป็นต้องได้นับจากอาหารเท่านั้น

กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่กรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้

โปรตีนประเภทสมบูรณ์ เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกายทุกชนิด และอยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะกับร่างกาย โปรตีนชนิดนี้มีอยู่ในเนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วเหลือง

โปรตีนประเภทไม่สมบูรณ์ เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายไม่ครบทุกชนิด โปรตีนชนิดนี้ มีในอาหารจำพวกพืชที่มีโปรตีนทั่วไป ยกเว้นถั่วเหลือง

หน้าที่ของโปรตีน

สร้างเนื้อเยื่อต่างๆและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ในอวัยวะต่างๆ

เป็นส่วนประกอบของน้ำย่อย และฮอร์โมน

เป็นส่วนประกอบของสารเคมีที่สามารถต้านทานโรค

ให้พลังงาน คือ โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงานประมาณ 4 แคลอรี

ร่างกายสามารถใช้โปรตีนแทนคาร์โบไฮเดรตได้


ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4-5/no12/protien.html


ตอบ ข้อ4 ค่ะ








อธิบาย

คาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรต เป็นสารประกอบอินทรีย์เคมี ซึ่งมีธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนเป็นส่วนประกอบ พืชใช้พลังงานจากแสงแดดในการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรตจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศและน้ำซึ่งดูดจากดิน และจะสะสมอาหารในส่วนต่างๆของพืช เช่น เมล็ด ใบ หัว ลำต้น ชนิดของคาร์โบไฮเดรตมีหลายชนิด จัดเป็นพวกใหญ่ๆได้ดังนี้

น้ำตาลชั้นเดียว (โมโนแซคคาไรด์) มีโมเลกุลเล็กที่สุด มีรสหวาน และละลายน้ำได้ เช่น กลูโคส ฟรุกโตส(ได้มาจากผลไม้) กาแลคโตส(ได้มาจากการสลายตัวของแลกโตสในนม)

น้ำตาล 2 ชั้น (ไดแซคคาไรด์) ประกอบด้วยน้ำตาลชั้นเดียว2โมเลกุลมารวมกัน จึงจัดเป็นน้ำตาล2ชั้น มีรสหวาน ละลายน้ำได้ เช่น ซูโครส(กลูโคส+ฟรุกโตส) แลกโตส(กลูโคส+กาแลกโตส) มอลโตส(กลูโคส+กลูโคส)

น้ำตาลหลายชั้น (โพลีแซคคาไรด์) ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดียวมากกว่าสองโมเลกุลมารวมกัน ไม่มีรสหวานและไม่ละลายน้ำ พืชและสัตว์มักเก็บคาร์โบไฮเดรตในรูปน้ำตาลหลายชั้น เช่น แป้งในพืช ไกลโคเจนในสัตว์ เซลลูโลสในพืช



หน้าที่ของคาร์โบไฮเดรต

ให้พลังงานและความร้อน คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงานประมาณ 4 แคลอรี

ช่วยให้การใช้ไขมันในร่างกายดำเนินไปอย่างปกติ ถ้าคาร์โบไฮเดรตมีไม่เพียงพอในอาหาร การใช้ไขมันในร่างกายจะไม่สมบูรณ์ด้วย

คาร์โบไฮเดรตบางชนิด เช่น กลูโคส เป็นอาหารของเซลล์และเนื้อเยื่อในสมอง

โมเลกุลของกลูโคส ใช้ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนในร่างกาย

ร่างกายสามารถเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตที่เหลือเป็นไขมันได้ และจะถูกสะสมในร่างกาย ดังนั้นไม่ควรได้รับคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป


ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4-5/no12/carbohydrate.html

ตอบ ข้อ1 ค่ะ




อธิบาย

กรดไขมัน (Fatty Acids)
กรดไขมันอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
1. กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acids) หมายถึง กรดไขมันที่คาร์บอนทุกตัวในโมเลกุลไม่สามารถจับกับไฮโดรเจนเพิ่มได้
และไม่สามารถจะจับกับสารใดๆ ได้อีก ไขมันอิ่มตัวมักได้มาจากสัตว์ ซึ่งมีลักษณะแข็งตัวได้แม้ในอุณหภูมิปกติ เช่น เนยแข็ง
น้ำมันหมู ช็อคโกแลต เป็นต้น โดยพวกนี้จะมีไขมันที่ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดจับตัว
2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acids) หมายถึง กรดไขมันที่คาร์บอนในโมเลกุลสามารถเกาะกับไฮโดรเจนเพิ่มขึ้นได้
กรดไขมันไม่อิ่มตัวแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
2.1 กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ไขมันชนิดนี้แทบไม่มีบทบาทอะไรกับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด เช่น น้ำมันมะกอก
น้ำมันคาโนลา เป็นต้น
2.2 กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไขมันชนิดนี้สำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยในการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกาย มี
ลักษณะเหลวแม้ในอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่ได้จากพืชและสัตว์น้ำบางชนิด เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด
คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
ไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างฮอร์โมน วิตามินอี และกรดน้ำดีซึ่งช่วยย่อยอาหาร ถ้าร่างกายมีคอเลสเตอ
รอลสูงเกินกว่าปกติ (มากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ก็จะก่อให้เกิดผลเสียจากการที่คอเลสเตอรอลไปพอกตามผนังหลอดเลือด
แดงทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย เป็นต้น เราจะพบคอเลสเตอรอลเฉพาะในสัตว์ และ
พบมากในอาหารที่มาจากเครื่องในสัตว์รวมทั้งไข่แดง
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
ไขมันและน้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์มีสารประกอบส่วนใหญ่เป็นไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ ไตรกลีเซอไรด์ยังเกิดขึ้นได้จาก
กระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท เช่น น้ำตาล ดังนั้น หากรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทในปริมาณที่มากเกินไป
จะมีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ค่าปกติของไตรกลีเซอไรด์ควรอยู่
ระหว่าง 70-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ฟอสโฟลิปิด (Phospholipid)
เป็นไขมันที่มีคุณสมบัติละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน

ที่มา http://www.nautilus.co.th/health_nutrition/tips_fatty.asp

ตอบ ข้อ4 ค่ะ







อธิบาย

กรดอะมิโน คือ กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีหมู่คาร์บอกซิล และหมู่อะมิโนเป็นหมู่ฟังก์ชัน

สูตรทั่วไป


กรดอะมิโนที่พบเป็นองค์ประกอบของโปรตีนมี 20 ชนิด และกรดอะมิโนจำเป็นมี 8 ชนิด คือ เมไทโอนีน ทรีโอนีน ไลซีน เวลีน ลิวซีน ไอโซลิวซีน เฟนิลอะลานิน และทริปโตเฟน มีความสำคัญสำหรับมนุษย์


สมบัติของกรดอะมิโน

1. สภานะ ของแข็ง ไม่มีสี

2. การละลายน้ำ ละลายน้ำ เกิดพันธะไฮโดรเจนและแรงแวนเดอร์วาลส์

3. จุดหลอมเหลว สูง อยู่ระหว่าง 150 - 300 C เพราะเกิดพันธะไฮโดรเจน

4. ความเป็นกรด-เบส กรด-เบส Amphoteric substance


การเกิดพันธะเพปไทด์

พันธะเพปไทด์ คือ พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นระหว่าง C อะตอมในหมู่คาร์บอกซิล ของกรดอะมิโนโมเลกุลหนึ่งยึดกับ N อะตอม ในหมู่อะมิโน (-NH2) ของกรดอะมิโนอีกโมเลกุลหนึ่ง


สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 โมเลกุล เรียกว่า ไดเพปไทด์

สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 โมเลกุล เรียกว่า ไตรเพปไทด์

สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนตั้งแต่ 100 โมเลกุลขึ้นไป เรียกว่า พอลิเพปไทด์นี้ว่า โปรตีน

อนึ่งสารสังเคราะห์บางชนิดก็เกิดพันธะเพปไทด์เหมือนกัน เช่น ไนลอน ดังนี้

ที่มา http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic8/amino.html

ตอบ ข้อ 2 ค่ะ






อธิบาย

กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid, DNA ) พบ DNA ในโครโมโซม เป็นตัวสำคัญในการถ่ายทอด

ทางพันธุกรรมในนิวเคลียส กรดนิวคลีอิกอีกชนิดหนึ่ง คือ กรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid ,RNA)พบในไรโบโซม

RNA และในไซโตพลาสซึม มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีน ทั้ง DNA และ RNA เป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติ
หน้าที่
DNA ทำหน้าที่หลักในการเก็บรักษาและถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด

RNA ทำหน้าที่หลักในการถ่ายทอดข้อความทางพันธุกรรมจาก DNA ไปเป็นโปรตีน
กรดนิวคลีอิกทั้ง DNA และ RNA ถูกไฮโดรไลซ์แล้ว จะให้มอนอเมอร์ เรียกว่านิวคลีโอไทด์

ถ้าไฮโดรไลซ์นิวคลีโอไทด์์ต่อไปจะให้นิวคลีโอไซด์ และกรดฟอสฟอริก นิวคลีโอไซด์ถูกไฮโดรไลซ์ต่อไปให้

เฮเทอโรไซคลิกเบสและน้ำตาลเพนโทส ซึ่งถ้าเป็น RNA เพนโทส คือ D-Ribose และ 2-Deoxyribose

ในกรณีที่เป็น DNA
กรดนิวคลีอิกสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก

(deoxyribonucleicacid, DNA ) และกรด ไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid , RNA) DNA และ RNA ตามลำดับ

มีโครงสร้างโมเลกุลพื้นฐานเป็น 3 ส่วน เหมือนกันคือ ไนโตรเจนเบส ( nitrogenous base) น้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 ตัว

(น้ำตาลไรโบส และ ดีออกซีไรโบส)และหมู่ฟอสเฟต

ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/28/P_Untitled-31.html

ตอบ ข้อ 2 ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553





คำอธิบาย

สารชีวโมเลกุล คือ สารอินทรีย์ในสิ่งมีชีวิต ซึ่งภายในโมเลกุลจะประกอบด้วยธาตุพื้นฐาน คือ คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) หรือในบางโมเลกุลของโปรตีนอาจจะมีธาตุอื่น ๆ เพิ่มเติม คือ ธาตุไนโตรเจน (N) กำมะถัน (S) และฟอสฟอรัส (P) เป็นต้น
สารชีวโมเลกุลเป็นสารที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดอย่างยิ่ง โดยโมเลกุลของสารชีวโมเลกุลจะสามารถถูกย่อยให้เป็นโมเลกุลที่เล็กลง และนำเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปเผาผลาญเป็นพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของชีวิต และสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย นอกจากนี้สารชีวโมเลกุลจำพวกโปรตีนยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย และยังเป็นสารสำคัญที่ใช้ในการสังเคราะห์สารที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต เช่น ฮอร์โมน เอนไซม์ เป็นต้น
ที่มา http://thaigoodview.com/node/21065

ตอบ ข้อ2. 3 ชนิดไขมัน โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต







คำอธิบาย


น้ำมันทั้งของพืชและสัตว์เป็นสารประกอบเชิงอินทรีย์ เกิดจากการรวมตัวของกรดคาร์บอซิลิค (Carboxylic acid) หรือกรดไขมันหลายโมเลกุล โดยมีกลีเซอรอลหรือกลีเซอรีน (Glycerol or Glycerine) เป็นตัวเชื่อม กรดไขมันแต่ละชนิดมีสูตรโครงสร้างของตัวเองโดยเ ฉพาะ และยังแยกออกเป็น ๒ ชนิด คือ
๑. กรดไขมันอิ่มตัว ซึ่งรางกายดูดซึมเข้าไปและใช้ประโยชน์ได้น้อย จึงทำให้เกิดการสะสมตัวเกาะติดกับผนังด้านในของเส้นโลหิต เป็นสาเหตุให้เกิดการอุดตันและเปราะแตกได้ง่าย
๒. กรดไขมันไม่อิ่มตัว มีคุณค่าทางด้านโถชนศาสตร์สูง เนื่องจากถูกดูดซึมและย่อยได้ง่าย
น้ำมันมีกรดไขมันอิ่มตัว เรียกว่า น้ำมันอิ่มตัว ในทำนองเดียวกัน น้ำมันที่ประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว เรียกว่า น้ำมันไม่อิ่มตัว

ที่มา http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK19/chapter2/t19-2-l1.htm

ตอบ ข้อ3 D.B










อธิบาย

ไอโอดีน ใช้ทดสอบแป้งหยดแล้วจะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำเงิน เอ็มไซน์ในน้ำตาลชื่ออไมเรด
สารละลายเบเนดิกซ์ ใช้ตรวจสอบน้ำตาลกลูโคส
สาร NaoH โซเดียมไฮดรอกไซด์ 'Cuco4 คอฟเฟอร์ซันเฟต = สารละลายไบยูเร็ต ตรวจสอบโปรตีน

ตอบ ข้อ 4 ขนมปังทาเนย + นมถั่วเหลือง








อธิบาย

กรดอะมิโน (amino acid) ประกอบด้วยอะตอมของธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจนและไนโตรเจนนอกจากนี้บางชนิด
อาจประกอบด้วยอะตอมของธาตุอื่นๆ อีก เช่น ฟอสฟอรัส เหล็กและกำมะถัน เป็นตัน
กรดอะมิโนแต่ละชนิดสามารถต่อกันได้ด้วยพันธะโคเวเลนท์ที่มีชื่อเฉพาะว่า พันธะเพปไทด์ (peptide bond) โครงสร้างซึ่ง
ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่ต่อกันเป็นสายนี้เรียกว่า เพปไทด์
พันธะเพปไทด์ คือ พันธะโคเวเลนท์ที่เกิดขึ้นระหว่าง C อะตอมในหมู่คาร์บอกซิล ของกรดอะมิโนโมเลกุลหนึ่งยึด
กับ N อะตอม ในหมู่อะมิโน (-NH2) ของกรดอะมิโนอีกโมเลกุลหนึ่ง


สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 โมเลกุล เรียกว่า ไดเพปไทด์
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 โมเลกุล เรียกว่า ไตรเพปไทด์
สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนตั้งแต่ 100 โมเลกุลขึ้นไป เรียกว่า พอลิเพปไทด์นี้ว่า โปรตีน
อนึ่งสารสังเคราะห์บางชนิดก็เกิดพันธะเพปไทด์เหมือนกัน เช่น ไนลอน ดังนี้

ที่มา http://www.enn.co.th/news/147/ARTICLE/4860/2008-10-05.html

ตอบ ข้อ2 คือ 2'3'2








อธิบาย

เมื่อพิจารณาโครงสร้างของแป้งและเซลลูโลสพบว่าประกอบด้วยหน่วยย่อยที่มีโครงสร้างเหมือนกันจำนวนมาก

ลและเชื่อมกันเป็นสายยาว แต่จำนวนหน่วยย่อยการสร้างพันธะของหน่วยย่อยและโซ่กิ่งในโครงสร้างของแป้งและเซลลูโลสแตกต่างกัน สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ

มอนอแซ็กคาไรด์ เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลเล็กมาก ประกอบด้วยคาร์บอน 3 - 8 อะตอม จึงสามารถจำแนกประเภทของมอนอแซ็กคาไรด์ตามจำนวนคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบได้ เช่น ไตรโอส เทโทรส เพนโทส เฮกโซส มอนอแซ็กคาไรด์ที่พบมากในธรรมชาติที่ส่วนใหญ่เป็นเพนโทส และ เฮกโซส เพนโทสที่พบมาก ได้แก่ ไรโบส และไรบูโรส

ในธรรมชาติพบว่ามอนอแซ็กคาไรด์ส่วนใหญ่มีโครงสร้างเป็นวง เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่เสถียรกว่าโครงสร้างแบบโซ่เปิด การเปลี่ยนโครงสร้างแบบโซ่เปิดเป็นแบบวงเกิดจากปฎิกิริยาระหว่างหมู่ -C- กับหมู่ -OH ในโมเลกุลเดียวกัน ตัวอย่างการเกิดโครงสร้างแบบวงของกลูโคสและฟรักโทสแสดง

ไดแซ็กคาไรด์ เกิดจากการรวมตัวของมอนอแซ็กคาไรด์ 2 โมเลกุล ตัวอย่างเช่น ซูโครส เกิดจากกลูโคสรวมตัวกับฟรักโทสอย่างละ 1 โมเลกุล โดยมีพันธะไกลโคซิดิกเชื่อมต่อระหว่างมอนอแซ็กคาไรด์ทั้ง 2 โมเลกุล

พอลิแซ็กคาไรด์ เป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ที่ประกอบด้วยมอนอแซ็กคาไรด์หลายๆ โมเลกุลเชื่อมต่อกันพอลิแซ็กคาไรด์ที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ได้แก่ แป้ง เซลลูโลส และไกลโคเจน


ที่มา http://school.obec.go.th/mclschool/6.2.2/Carbohidred.htm


ตอบ 1 ไกลโคเจน เซลลูโลส แป้ง






อธิบาย


อินซูลินเป็นยาที่จำเป็นในการรักษาเบาหวานชนิดที่หนึ่งทุกราย นอกจากนั้นยังจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง ที่ไม่ตอบสนองต่อยาเม็ด
การใช้อินซูลินเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานซึ่งอาการเกิดเร็ว และน้ำหนักลด
อินซูลินคืออะไร

อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน ออกฤทธิ์โดยการนำน้ำตาลจากเลือดเข้าไปในเซลล์ของร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงาน ในผู้ป่วยที่ขาดอินซูลินหรืออินซูลินไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ตามปกติ( ดื้อต่ออินซูลิน) ทำให้เซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจึงเกิดโรคเบาหวาน

ที่มา http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/insulin.htm

ตอบ 1. ก และ ข